ประวัติโดยสังเขปโรงเรียนวาณิชย์นุกูล 素辇公立培华学校
เริ่มแรก
พ.ศ. 2467 สมัยรัชกาลที่ 6 พ่อค้าชาวจีนในจังหวัดสุรินทร์ ได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนภาษาจีนและสืบทอดวัฒนธรรมจีน ชื่อโรงเรียน “โรงเรียนอู่เซีย”(有声学校) โดยเช่าบ้านไม้ชั้นเดียวอยู่ทิศเหนือเยื้องสถานีรถไฟปัจจุบันมีครูคนเดียวคือนายจั๊กย้ง แซ่ตั้ง (陈作容) มีนักเรียนประมาณ 50 คน
พ.ศ. 2469 กิจการรถไฟดำเนินมาถึงสถานีรถไฟสุรินทร์ ความเจริญขยายมาถึงสถานีรถไฟ โรงเรียนถูกทางรถไฟกั้นคนละฟากจึงย้ายที่ใหม่ รองอำมาตย์ตรีขุนศรีสุรินทร์พาณิชย์ (คุณจิ้งเคี้ยง แซ่ตั้ง 陈振乾) ยกที่ดินให้หนึ่งแปลงที่อยู่ปัจจุบัน ก่อสร้างโรงเรียนเป็นไม้เนื้อแข็ง 2 ชั้น ชื่อโรงเรียน อู่เซีย ต่อมามีผู้เสนอให้ใช้ชื่อ 公立学校 (กงลิบหักเหา) หรือ “โรงเรียนกงลิบ” มีความหมาย “เป็นของส่วนรวมก่อตั้งขึ้น”
พ.ศ. 2482 เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 การค้าที่จังหวัดสุรินทร์มีความเจริญตามลำดับ ชาวพ่อค้าในตลาดจึงได้ก่อตั้ง “คณะกรรมการพ่อค้าสุรินทร์”และเป็น “คณะกรรมการโรงเรียนกงลิบ”โดยมีนายต่วน ศรีสุรินทร์ (陈金锻) เป็นประธาน ต่อมาได้จดทะเบียนใหม่เป็น “โรงเรียนวาณิชย์นุกูล”เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2482 มีนายบรรณ สวันตรัจน์ (陈和盛) เป็นเจ้าของ/ผู้จัดการ และนายทูล มุลาลินน์ เป็นครูใหญ่ คำว่า “โรงเรียนวาณิชย์นุกูล” มีความหมายว่าโรงเรียนได้รับการสนับสนับสนุนช่วยเหลือของพ่อค้าชาวตลาดสุรินทร์ โดยมีชื่อภาษาจีนว่า 公立学校 “กงลิบหักเหา”
พ.ศ. 2484 คณะกรรมการโรงเรียนได้แต่งตั้ง นายเม่งฮั้ว แซ่ลี้ (李明华) เป็นครูใหญ่ภาษาจีน ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนภาษาจีนจากโรงเรียนกงลิบ เป็นโรงเรียนสุรินทร์ 素辇学校 (สุรินทร์หักเหา)
พ.ศ. 2485 สงครามโลกลุกลามถึงภาคพื้นเอเชียอาคเนย์สถานการณ์ย่ำแย่ โรงเรียนต้องปิดสอนภาษาจีน ยังคงสอนเฉพาะภาษาไทย ได้ขยายการสอนถึงมัธยม3 มี นายบรรณ สวันตรัจน์ เป็นเจ้าของ/ครูใหญ่โรงเรียน และนายดิษฐ์ ก่อทอง เป็นผู้จัดการโรงเรียน มีความก้าวหน้ามาก (สอนตั้งแต่ ป. 1 ถึง มัธยม 6) ระหว่างสงครามโรงเรียนอยู่ในภาวะวิกฤติแต่ก็สามารถประคับประคองได้โดย นายต่วน ศรีสุรินทร์ ให้นายตุนเกีย (เหล่าเซี้ย) แซ่ล้อ (罗敦京) ดำเนินการแทนมีนายเจียกกวง แซ่ทั้ม (谭灼光) และนายจี้งฮวด แซ่ตั้ง (陈进发) เป็นที่ปรึกษา
พ.ศ. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ขออนุญาตเปิดสอนภาษาจีนต่อ
พ.ศ. 2489 นายบรรณ สวันตรัจน์ ถึงแก่กรรม โอนกิจการให้นายต่วน ศรีสุรินทร์ เป็นเจ้าของโรงเรียนต่อมายุบชั้นมัธยม ใช้หลักสูตรเทียบกระทรวงศึกษาธิการ ภาษาจีนเป็นวิชาเลือก นายบาง กมลพาณิชย์เป็นครูใหญ่ นายดิษฐ์ ก่อทอง เป็นผู้จัดการ คณะกรรมการแต่งตั้ง นายแป๊ะเง็ก (ซุยลิ้ง) แซ่เตีย (张伯玉) เป็นครูใหญ่ฝ่ายภาษาจีน นายเป็กไช แช่เตีย (张柏千) เป็นเลขา คณะกรรมการโรงเรียนเสนอเปลี่ยนชื่อเป็น 公立培华学校 (กงลิบป่วยฮั้วหักเหา) ภาษาจีนกลางอ่านว่า “กงลี่เผยหัวเสวียเซี่ยว” ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการทุกสมัยจนตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. 2490 นายแป๊ะเง็ก แซ่เตีย ลาออก ได้แต่งตั้ง นายเซ้ง แซ่อึ้ง(黄成) นายเช็งจุน แซ่เตีย (张清尊) นายไผ่ แซ่โง้ว (吴沛) นายเล้งเพ้ง แซ่แต้ (郑凌平) เป็นครูใหญ่ฝ่ายภาษาจีนตามลำดับ
พ.ศ. 2501 นายเล้งเพ้ง แซ่แต้ ลาออก แต่งตั้งนายเขียกลิ้ม ( ลิบ ) แซ่ลิ้ม(林克林) แทน
พ.ศ. 2506 นายบาง กมลพาณิชย์ ลาออก แต่งตั้ง นายผาย ระดมสุข เป็นครูใหญ่ นายต่วน ศรีสุรินทร์ ถึงแก่กรรมโอนกิจการให้ นายเกียรติ ศรีสุรินทร์ (陈杰) เป็นเจ้าของโรงเรียน ประธานคณะกรรมการ โรงเรียนเปลี่ยนเป็น นายไพบูลย์ รัตนเศรษฐ (苏裕国) โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินติดด้านหลังโรงเรียนจาก นายกำธร (กิมไซ) ศรีสุรินทร์ (陈金狮) (พี่ชายนายต่วน ศรีสุรินทร์) จำนวน 2 ไร่ เศษ รวมเป็น 5 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 125 จึงสร้างอาคารไม้ 2 ชั้นเป็นหอพักครูและ นักเรียน ประธานโรงเรียนคนต่อมาคือ นายวุฒิพงษ์ เรืองกาญจนเศรษฐ (เป๊กฮวย แซ่เตีย 张伯花) นายช่งเงียบ แซ่อั๊ง (洪崇业) นายสอง ศรีสุรินทร์ (陈颂) นายคูณ อารยะพงษ์ (庄文厚) นายกุงฮั้ว แซ่ตั้ง (陈君和)
พ.ศ. 2509 วันที่ 18 กรกฎาคม 2509 ซื้อที่ดินจากนายประธาน วิเชียร จำนวน 1 ไร่ 37.7 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 31 โดยจดทะเบียนในนามกรรมการโรงเรียน 6 ท่าน
พ.ศ. 2510 วันที่ 18 สิงหาคม 2510 นายไพบูลย์ ศรีสุรินทร์ ทายาท รองอำมาตย์ตรี ขุนศรีสุรินทร์พาณิชย์ มอบกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 5 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ให้โรงเรียนวาณิชย์นุกูล โดยจดทะเบียน ในนามกรรมการโรงเรียน 5 ท่าน
พ.ศ. 2512 นายกุงฮั้ว แซ่ตั้ง เป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน ได้รื้อถอนอาคารไม้หลังแรก ก่อสร้างเป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียนเป็นอาคาร 1
พ.ศ. 2515 นายดิษฐ์ ก่อทองถึงแก่กรรม ตั้งนายประวัติ อินทรสุข เป็นผู้จัดการแทน
พ.ศ. 2516 นายเขียกลิ้ม (ลิบ) แซ่ลิ้ม ครูใหญ่จีนลาออก นายซี่เอ็ง แซ่เตีย (张世英) รับหน้าที่แทน
พ.ศ. 2518 นายผาย ระดมสุข ครูใหญ่ถึงแก่กรรม นางอุทิน นับวันดี เป็นครูใหญ่แทน
พ.ศ. 2519 วันที่ 12 เมษายน ก่อตั้ง สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวาณิชย์นุกูล 素辇公立培华学校校友会 นายยงค์ พงษ์นุเคราะห์ศิริ (林俊雄) เป็นนายกสมาคมฯสมัยแรก นายโป่วเฮี๊ย แซ่เจีย (谢步霞) เป็นครูใหญ่จีน คณะกรรมการพ่อค้าจีนมอบโรงเรียนวาณิชย์นุกูล ให้สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวาณิชย์นุกูล เป็นผู้ดูแล เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปี 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีถัดไปก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีต 2 ชั้น ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนเป็นอาคาร 2
พ.ศ. 2523 วันที่ 10 พฤศจิกายน นายเกียรติ ศรีสุรินทร์ โอนกิจการโรงเรียนให้ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวาณิชย์นุกูล เป็นเจ้าของ โดย นายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ (韦伟镇) เป็นผู้ลงนามแทนสมาคมฯ
พ.ศ. 2525 นายวิชิต ทัศนเศรษฐ (许绵泽) เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวาณิชย์นุกูล สมัยที่ 3 คุณพักเอ็งแซ่แต้ (郑博英) เป็นครูใหญ่จีน
วันที่ 2 มิถุนายน 2525 กรรมการโรงเรียนผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโรงเรียน จดทะเบียนมอบให้สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวาณิชย์นุกูล เป็นเจ้าของที่ดินทั้ง 2 แปลง รวม 6 ไร่ 2 งาน 81.7 ตารางวา
พ.ศ. 2527 นายนำชัย เตียวเจริญโสภา (张庆南) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 4 นางอุทิน นับวันดี ลาออก แต่งตั้งนายกัน ประมูปถัมภ์ เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2531 นายฮุย รังคกูลนุวัฒน์(张伯达) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 6 แต่งตั้งคุณมุ่ยเง็ก แซ่ลิ้ม (林美玉) เป็นครูใหญ่จีน ช่วงนี้นักเรียนเริ่มลดน้อยลง
พ.ศ. 2532 นายประวัติ อินทรสุขลาออกจากผู้จัดการ แต่งตั้งนายกฤตติ กาญจนรุจวิวัฒน์ (黄柳辉) แทนนายกัน ประมูปถัมภ์ลาออกแต่งตั้ง นางสมพงษ์ ก่อทอง เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2533 นายกิตติ (กฤตติ) กาญจนรุจวิวัฒน์ ลาออก แต่งตั้ง นายประกอบ เภสัชศาสตร์นุกูล (王俊湖) เป็นผู้จัดการ
พ.ศ. 2535 นายคุณธน วงศ์อารีย์สันติ(赵戊坤) เป็นนายกสมาคม ฯ สมัยที่ 8 นายประกอบ เภสัชศาสตร์นุกูล ลาออก แต่งตั้งนายชาติชาย วงศ์อารีย์สันติ(赵钦海)เป็นผู้จัดการแทน นางฮุ้ง แซ่ตั้ง (陈云) เป็นครูใหญ่จีน โรงเรียนมีนักเรียนลดลงต่อเนื่อง มีนักเรียนเพียงสองร้อยกว่าคนจึงได้ขออนุญาต เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-3 โดยใช้อาคารไม้ 2 ชั้น และอาคาร 2 เป็นอาคารเรียน
พ.ศ. 2536 นางสมพงษ์ ก่อทอง ลาออก แต่งตั้งนายวิศาล แยบดี เป็นครูใหญ่แทน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม นางสาวเง็กเอ็ง แซ่ตั้ง (陈玉英) เป็นครูใหญ่จีน
พ.ศ. 2539 นายเฉี่ยงเส็ง แซ่อึ้ง (黄长盛) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 10
พ.ศ. 2541 นายสุรัตน์ คูณวัฒนาพงษ์ (邱贵山) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 11 และเป็นผู้รับใบอนุญาตแทน นายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ นายวิศาล แยบดี ลาออกจากครูใหญ่ แต่งตั้งนางโสภิดา กาญจนการุณ แทน มีคุณเอี่ยวฮั้ว แซ่เฮ้ง (王瑶华) เป็น ครูใหญ่จีน
พ.ศ. 2542 นายชาติชาย วงศ์อารีย์สันติ ลาออก แต่งตั้งนางโสภิดา กาญจนการุณ เป็นผู้จัดการแทน ตำแหน่งครูใหญ่ ให้นางรัศมี พลสยม ดำรงตำแหน่งแทน คุณเอี่ยวฮั้ว แซ่เฮ้ง ลาออก คุณประวิทย์ ริรัตนพงษ์ (李继寿) เป็นครูใหญ่จีนแทน
พ.ศ. 2543 25 สิงหาคม ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)
วันที่ 15 ธันวาคม 2543 รับมอบ ห้องประชุมแกซิง จาก นางยุ่งซก แซ่ตั้ง (陈允淑)
พ.ศ. 2545 นายวิทยา พงษ์นุเคราะห์ศิริ (林俊波) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 13 ได้รื้อถอนอาคารไม้ 2 ชั้น ด้านทิศใต้และ ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น 24 ห้องเรียน เป็นอาคาร พิธีวางศิลาฤกษ์ในวันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2545 โดย ฯพณฯ เซี่ยฝูเกิน (谢福根) อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานวางศิลาฤกษ์และทำการก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ด้านทิศตะวันตกอาคาร 3 โดยชั้นล่างเป็นห้องโถง ชั้นบนเป็นหอพักครู และนักเรียน
พ.ศ. 2548 วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน ทำพิธีเปิดป้ายอาคาร 3 โดย ฯพณฯ หูเสี่ยวหลัน(湖小兰) อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน และนายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน
พ.ศ. 2549 คุณจิราวรรณ ตัณฑเลขา (罗赛凤) เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 15 ปี 2549 -2550 นางรัศมี พลสยม ลาออก แต่งตั้งนางเพ็ญศรี เงางาม เป็นครูใหญ่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2549
พ.ศ. 2550 น.ส.พัฒนพร สุทธิยานุช เป็นที่ปรึกษาวิชาการโรงเรียน เนื่องจากผู้ปกครองขาดความเชื่อถือ โรงเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีปัญหาเก็บค่าเล่าเรียนไม่ค่อยได้ ผลสัมฤทธิ์การศึกษาต่ำ สถานการณ์โรงเรียนมีแต่ทรุด นายธีรศักดิ์ ซุยวัฒนา (刘钦光) จึงเสนอต่อที่ประชุมสมาคมฯ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ให้เปิดสอน ENGLISH PROGRAM ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-3 และต่อไป เปิดเพิ่มปีละ 1 ชั้น มีนักเรียนห้องละ 25 คน เก็บค่าเทอม 20,000 บาท ชั้นประถมศึกษาเทอมละ 25,000 บาท ที่ประชุมอนุมัติ โดยให้เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2551
พ.ศ. 2551 นางจิราวรรณ ตัณฑเลขา เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 16 การประชุมสมาคมฯ วันที่ 1 ตุลาคม 2551 นายธีรศักดิ์ ซุยวัฒนา แจ้งต่อที่ประชุมว่า การเปิดสอน ENGLISH PROGRAM ได้รับการตอบรับจากผู้ปกครองดีมาก การที่ต้องเปิดเพิ่มปีละ 1 ชั้นเรียน จะทำให้อาคารเรียนที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ จึงเสนอให้จัดสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่ม 1 หลัง และเป็นอาคารครบรอบ 84 ปี ของการก่อตั้งโรงเรียน ที่ประชุมอนุมัติวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 คุณถาวร จรัสกุลางกูร (黄荣光) เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนคุณประเสริฐ ชัยชนะศิริวิทยา (蔡怡潮) เป็นผู้จัดการโรงเรียนแทนท่านเดิม
พ.ศ. 2552 วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2552 เวลา 10.09 ฯพณฯ จั่วจื้อเฉียง(左志强) อุปทูตสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียน 84 ปี วาณิชย์นุกูล เป็นอาคารเรียนหลังที่ 4 เนื่องจากวาระของกรรมการสมาคมฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่ากรรมการสมาคมฯ ชุดนี้ ได้เป็นคณะหาทุน และดำเนินการก่อสร้างอาคาร 84 ปี วาณิชย์นุกูล จึงมีมติให้ดำรงตำแหน่งต่อจนกว่าจะเปิดอาคารเรียนหลังใหม่
พ.ศ. 2553 วันที่ 5 มิถุนายน 2553 นายธีรศักดิ์ ซุยวัฒนา เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน แทนนายถาวร จรัสกุลางกูร ที่ถึงแก่กรรม วันศุกร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2553 ตรงกับปฏิทินจีน ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ทำพิธีเปิดอาคาร 84 ปี วาณิชย์นุกูล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น 16 ห้องเรียน โดย ฯพณฯเ กาเจี้ยนถิง (高建廷) อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานเปิด
พ.ศ. 2553 วันที่ 27 กันยายน ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสอง
พ.ศ. 2554 คุณยงยุทธ สุรินทร์ศิริรัฐ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 17 วันที่ 27 มีนาคม 2554 ได้ประกาศเรื่องโครงการความมั่นคงของครูหลังเกษียณอายุ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของครูได้กำหนดค่าตอบแทนครูได้รับเงินเพิ่มเติมจากเงินเดือนประจำ ครูที่ปฏิบัติงาน ครบ 10 ปี 15,20,25 ปี จะได้ รับเงิน เพิ่ม 3,5,8,10% จากอัตราเงินเดือน 21 กรกฎาคม ได้รับอนุญาตใช้อาคารเรียน 5 หลัง ความจุนักเรียน 1,720 คน สร้างศาลาอเนกประสงค์ขนาด 9×9 เมตร ด้านตะวันออกอาคาร 1
พ.ศ. 2555 สร้างโรงครัว ฝึกปฏิบัติของนักเรียน ใช้ชื่อว่า JUNIOR CHEF 20 เมษายน ได้รับอนุญาตเปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก ระดับบริบาล
พ.ศ.2556 คุณยงยุทธ สุรินทร์ศิริรัฐ (陈宗惠) เป็นนายกสมาคมฯ ปี 2556 – 2557 สมัยที่ 18 เพิ่มห้องเรียน คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล ที่อาคาร 3
พ.ศ. 2557 วันที่ 1 กันยายน 2557 ได้มีประกาศปรับเปลี่ยนระยะเวลาการรับค่าตอบแทนของครู ในโครงการ ความมั่นคงของครูหลังเกษียณอายุ โดยครูที่ปฏิบัติงานครบ 5,10,15,20 ปี จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม 3,5,8,10% ของอัตราเงินเดือน ครูที่ปฏิบัติงานหลังเกษียณอายุ จะได้ค่าตอบแทนเพิ่ม 3% ของเงินเดือน วันที่ 7 ธันวาคม นายธีรศักดิ์ ซุยวัฒนา ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ขณะนี้โรงเรียนมีนักเรียน 1,153 คนโรงเรียนมีนโยบายจำกัดจำนวนนักเรียนแต่มีเหตุสุดวิสัย ทำให้นักเรียนมีจำนวนเกินความจุของห้องเรียนอีก 5 ปี โรงเรียนจะขาดสถานที่เรียน จำนวน 6 ห้อง และโรงอาหาร ห้องประชุมไม่เพียงพอ อีกทั้งขาดสนามกีฬาในร่ม แปลงเกษตร แหล่งเรียนรู้ฝึกทักษะของนักเรียน และปัญหาที่จอดรถ จึงเสนอให้หาสถานที่ใหม่ ที่ประชุมแต่งตั้งอนุกรรมการจำนวน 10 ท่าน เพื่อศึกษา
พ.ศ. 2558 นายวิชัย จรัสกุลางกูร (黄德盛) เป็นนายกสมาคม ฯ สมัยที่ 19 ปี 2558-2559 15 มีนาคม ที่ประชุมมีมติไม่ขยับขยายโรงเรียนไปสถานที่ 26 พฤษภาคม ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ.2554-2558)
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 เวลา 8.50 น. คุณวิชัย จรัสกุลางกูร นายกสมาคมฯ เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคาร 92 ปี วาณิชย์นุกูล
พ.ศ. 2559 25 ตุลาคม เริ่มใช้อาคารเรียน 5 (อาคาร 92 ปี วาณิชย์นุกูล) โรงเรียนมีนักเรียน 1,309 คน 27 พฤศจิกายน ที่ประชุมมีมติให้ครูเกษียณอายุ 60 ปี นายธีรศักดิ์ ซุยวัฒนา เสนอโครงการสงเคราะห์บุตร – ธิดา ของบุคลากรโรงเรียน โดยให้เงินช่วยเหลือบุตร – ธิดาของบุคลากรที่เป็นผู้ให้กำเนิด ไม่เกิน 2 คน เด็กแรกเกิด – ระดับปฐมวัยศึกษา เดือนละ 500 บาท ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา เดือนละ 700 , 1,000 , 1,500 บาท ตามลำดับ บุตร – ธิดาที่เรียน กศน. ไม่มีสิทธิ์ ที่ประชุมมีมติอนุมัติ